top of page
11062b_f0cd2b56e86443d68d21b6bc12fe055c_
inter3.JPG
Portfolio locations-png.webp
social_EurofloodSpainSampleImages2.webp

Flood Model

กาสร้างแบบจำลองน้ำท่วม Flood Model ขึ้นมานั้น  ประกอบด้วยข้อมูลทางด้าน GIS Geographic Information System  เพื่อนำมาวิเคราะห์ร่วมกัน ยิ่งข้อมูลมีความละเอียดและมีประสิทธิภาพสูง ผลลัพธ์ที่ได้จากการวิเคราะห์จะมีความแม่นยำใกล้เคียงความเป็นจริงทำให้สามารถวางแผนรับมือต่อความเสียหายที่เกิดจากน้ำท่วมได้

ภาพถ่ายดาวเทียม (Satellite)

  การนำเทคโนโลยีภาพถ่ายดาวเทียมมาใช้ประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการน้ำท่วม ภัยแล้ง หรือ การจัดการพื้นที่การเกษตร การใช้ประโยชน์ที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงตรวจสอบจำนวนหลังคาเรือนที่ถูกน้ำท่วม เพื่อขอรับการช่วยเหลือจากภาครัฐ ภาพถ่ายดาวเทียม มองเห็นภาพของทุกหลังคาเรือน การใช้ภาพถ่ายดาวเทียม ยิ่งภาพถ่ายมีความละเอียดมากการวิเคราะห์ก็จะง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

แบบจำลองความสูง(DEM)

การออกแบบจำลองน้ำท่วม ข้อมูลที่สำคัญในการนำมาใช้ในการวิเคราะห์ คือ DEM Digital Elevation Model  คือการจัดเก็บค่าความสูงภูมิประเทศในรูปแบบของข้อมูลตารางกริด หรือข้อมูลแรสเตอร์ โดยแสดงค่าความสูงทางภูมิประเทศตามระยะความละเอียดที่มีหน่วยตามระยะบนพื้นผิวโลกเช่น ความละเอียดจุดภาพเท่ากับ2 x 2 เมตร คือ 1กริดครอบคลุมพื้นที่บนผิวโลกจริงเท่ากับ 2 เมตร คูณ 2 เมตร และค่าความสูงในพื้นที่นั้น จะเท่ากับค่าValue ที่บันทึกใน กริด ยิ่งค่าความสูงกริดน้อยค่าความละเอียดยิ่งมาก และมีความแม่นยำในการวิเคราห์

การวิเคราะห์ (Analysis)

การวิเคราะห์น้ำท่วมหรือพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมต้องอาศัยแบบจำลองขนาดน้ำท่วมเพื่อให้มองเห็นสภาพและข้อมูลการไหลของน้ำ ได้แก่ พื้นที่ที่คาดการณ์ว่าน้ำจะท่วม ความลึกของน้ำที่ท่วม รวมทั้งข้อมูลสำหรับการอพยพ เช่น จุดอพยพ เส้นทางการอพยพ จุดอันตรายในเส้นทางอพยพ เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้จะแสดงในรูปแบบของรูปภาพที่เข้าใจง่าย โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อให้สามารถอพยประชาชนไปอยู่ ในที่ปลอดภัยได้อย่างเหมาะสม ทันเวลา ในกรณีที่เกิด เหตุการณ์น้ำท่วมขึ้น

inter3.JPG
dd.JPG

ระบบ Platform

การประยุกต์ใช้ข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อพัฒนาระบบวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม เรียกว่า Platform ซึ่งเป็นระบบที่พัฒนาอำนวยความสะดวกในการวิเคราะห์หาพื้นที่เสี่ยงในการเกิดน้ำท่วมบริหารจัดกน้ำท่วม การวิเคราะห์เชิงพื้นที่ เพื่อการคำนวณในการทำ แผนที่แสดงความลาดชันแผนที่แสดงความหันเหของความลาดเอียง ภาพตัดขวางของความลาดเท สำมารถนำไปสร้ำงแผนที่ความสูงเชิงเงา เพื่อช่วยในการศึกษาธรณีสัณฐาน การวิคราะห์ทางอุทกวิทยา ปริมาณน้ำ ที่ไหลผ่าน การแสดงภูมิประเทศเป็นสามมิติ

HomePage-FloodMonitor.webp
MappointAsia_Bangkok_Sample.png
bottom of page