top of page

ข้อมูลสนับสนุนการทำแผนที่ภาษี

tax1-840x277.png

MappointAsia พร้อมบริการข้อมูลสนับสนุนการทำแผนที่ภาษี

1) ระบบบริหารจัดการภาษีท้องถิ่น มีคุณลักษณะ ดังนี้

สามารถคํานวณการตั้งค่าเป้าหมายและประมาณการรายรับการจัดเก็บภาษีแต่ละ ประเภทแยกรายเขตและภาพรวมเทศบาลได้

จัดทํารายงานสรุปอย่างน้อยดังต่อไปนี้

1) รายงานสถิติการใช้งานและการจัดการข้อมูลของผู้ใช้ (User) แต่ละราย ในระบบ ตามประเภทของผู้ใช้ (User) ของแต่ละเขตและภาพรวม

2) รายงานอันดับการจัดเก็บภาษีสูงสุดแยกตามประเภทภาษีของแต่ละเขต

3) รายงานสรุปการจัดเก็บภาษีท้องถิ่นเป็นรายเขตและภาพรวม

4) รายงานการประเมินภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแยกตามประเภทการใช้ประโยชน์

5) รายงานสรุปการสํารวจแยกรายเขต และภาพรวม

6) รายงานสถิติการเข้าใช้ระบบให้บริการตรวจสอบข้อมูล

7) รายงานสรุปการรับเงิน เป็นรายเขตและภาพรวม

8) รายงานสรุปการบริหารจัดการลูกหนี้ในแต่ละประเภทภาษี เป็นรายเขต และภาพรวม

9) รายงานและแผนภูมิแสดงสัดส่วนการจัดเก็บเปรียบเทียบการสํารวจ เป็นรายเขต และภาพรวม

10) รายงานการจําหน่ายหนี้ เป็นรายเขตและภาพรวม

 

2) ระบบภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง มีคุณลักษณะ ดังนี้

1) รองรับการทํางานร่วมกับข้อมูลที่เชื่อมโยงจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายนอก และภายใน

2) เพิ่ม ลบ และแก้ไข ข้อมูลที่ได้จากการสํารวจที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง และอาคารชุด เพื่อปรับปรุงข้อมูลในระบบ โดยต้องจัดเก็บประวัติการแก้ไขข้อมูลทุกรายการเรียงตามวันที่ที่มีการแก้ไข และสามารถแนบไฟล์หลักฐานที่มีการแก้ไข (ถ้ามี)

3) เพิ่ม ลบ และแก้ไข ข้อมูลเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน เจ้าของกรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้าง เจ้าของกรรมสิทธิ์อาคารชุด โดยต้องจัดเก็บประวัติการแก้ไขข้อมูลทุกรายการเรียงตามวันที่ที่มีการแก้ไข และสามารถแนบไฟล์หลักฐานที่มีการแก้ไข (ถ้ามี)

4) มีฟังก์ชั่นในการประเมินราคาที่ดินในกรณีที่ที่ดินไม่มีราคาประเมิน (ราคาเทียบเคียง)

5) เพิ่มและแก้ไขข้อมูลราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง และอาคารชุด

6) ค้นหาข้อมูลที่ดินตามเงื่อนไขที่กําหนดอย่างน้อย ดังนี้

- ข้อมูลเลขที่เอกสารสิทธิ์ เลขที่ดิน เลขหน้าสํารวจ

- ข้อมูลระวาง โซน แขวง เขต

- ข้อมูลที่ดินที่มี/ไม่มีการบันทึกข้อมูลการสํารวจ การใช้ประโยชน์

- ข้อมูลที่ดินที่มี/ไม่มีเจ้าของกรรมสิทธิ์

- ข้อมูลที่ดินที่ยังมี/ไม่มีราคาประเมินที่ดิน

- ข้อมูลตามประเภทการใช้ประโยชน์

- ข้อมูลเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่มี/ไม่มีชื่อและ/หรือสกุล

7) ค้นหาข้อมูลสิ่งปลูกสร้างและอาคารชุด ตามเงื่อนไขที่กําหนดอย่างน้อย ดังนี้

- ข้อมูลเลขที่บ้าน รหัสประจําบ้าน

- ข้อมูลสิ่งปลูกสร้างที่มี/ไม่มีเจ้าของกรรมสิทธิ์

- ข้อมูลสิ่งปลูกสร้าง

- ข้อมูลประเภทสิ่งปลูกสร้างและประเภทการใช้ประโยชน์

- ข้อมูลเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่มี/ไม่มีชื่อและ/หรือสกุล

8) เพิ่มและแก้ไขที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน ที่อยู่สําหรับส่งจดหมาย หมายเลขโทรศัพท์ และอีเมล์ติดต่อเจ้าของทรัพย์สิน

9) พิมพ์บัญชีแจ้งรายการทรัพย์สินพร้อมส่งออกข้อมูลเพื่อนําส่งไปรษณีย์ ลงทะเบียนตอบรับ

10) พิมพ์บัญชีกําหนดราคาประเมินทุนทรัพย์

11) คํานวณภาษีตามที่กฎหมายกําหนด และมีหน้าจอสําหรับเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีหรือ วิธีการคํานวณภาษี

12) ออกใบแจ้งการประเมินภาษีพร้อมใบแนบใบแจ้งรายการประเมิน และสามารถส่งออกข้อมูล (Export Data) เพื่อนําส่งไปรษณีย์จัดพิมพ์ใบแจ้งต่าง ๆ ตามเงื่อนไขใน รูปแบบ Excel หรือ Text File

13) รับยื่นคําร้องขอเปลี่ยนแปลงแก้ไข และการแจ้งการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ข้อมูลรายการทรัพย์สินจากเจ้าของทรัพย์สิน และแจ้งผลการพิจารณาคําร้องฯ พร้อมส่งบัญชี รายการทรัพย์สินฉบับที่ปรับปรุงแก้ไขให้ผู้ร้องผ่านระบบ

14) รับยื่นคําร้องคัดค้านการประเมินภาษีจากเจ้าของทรัพย์สิน และแจ้งผล การพิจารณาคําร้องฯ พร้อมส่งบัญชีรายการทรัพย์สินฉบับที่ปรับปรุงแก้ไขให้ผู้ร้องผ่านระบบ

15) รับยื่นคําร้องอุทธรณ์ภาษี

16) รับยื่นคําร้องขอคืนเงินค่าภาษี

17) สามารถดูประวัติการชําระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ค้นหาการค้างชําระภาษีบํารุง ท้องที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน

18) สามารถแจ้งเตือนวันใกล้กําหนดครบชําระภาษีไปยังเจ้าของทรัพย์สินที่ได้รับใบแจ้ง การประเมินภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

19) ส่งออกข้อมูลไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมที่ดิน กรมธนารักษ์ กระทรวงมหาดไทย ตามเงื่อนไขในรูปแบบ Excel หรือ Text File หรือตามรูปแบบที่กรุงเทพมหานครกําหนด

20) จัดทํารายงานดังต่อไปนี้

- รายงานสรุปการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เป็นรายเขต

- รายงานการประเมินภาษีแยกตามประเภทการใช้ประโยชน์

- รายงานแสดงแปลงที่ดิน-สิ่งปลูกสร้างที่เสียภาษีแล้ว ยังไม่ได้สํารวจ ได้รับ การยกเว้นภาษี

- รายงานสถิติการเข้าใช้ระบบให้บริการประชาชนเพื่อการตรวจสอบภาษีที่ดินและ สิ่งปลูกสร้าง

- รายงานสถิติการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเปรียบเทียบการสํารวจที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง และอาคารชุด

21) แผนที่ต้องสามารถแสดงรายละเอียดตามเงื่อนไขและแสดงออกมาในรูปแบบของ รายงาน ดังนี้

- สามารถวัดระยะทาง และคํานวณพื้นที่ (Measurement Tool)

- สามารถแผนที่สามารถย่อ/ขยาย (Zoom in/out) แผนที่ และเลื่อนแผนที่ (Pan)

- สามารถคลิกเลือกที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่สนใจบนแผนที่ และแสดง รายละเอียดเกี่ยวกับที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่เลือกได้

- ค้นหาและแสดงตําแหน่งแผนที่ใน/นอกพิกัดภาษี

- ค้นหาที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างจากเงื่อนไขการค้นหา ได้แก่ เลขที่โฉนด เลขที่ดิน เลขสํารวจ และทั้งระวางแขวง และเขตได้

- แสดงที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่เสียภาษีแล้ว

- แสดงที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ยังไม่ได้สํารวจ

- แสดงที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ได้รับการยกเว้นภาษี

- แสดงที่ดินจําแนกตามการใช้ประโยชน์

- แสดงที่ดินจําแนกตามช่วงราคาประเมินทุนทรัพย์ต่อตารางวา หรือราคาประเมิน ทุนทรัพย์รายแปลง

 

3) ระบบบริหารงานด้านการสํารวจ ระบบต้องสามารถทํางานได้ทั้งบน Web Application และ Mobile Application

 

1) Web Application มีคุณลักษณะ ดังนี้

1) สามารถเรียกแสดงแผนที่พื้นฐาน (Base Map)

2) ระบบต้องบันทึกรายละเอียดการสํารวจ โดยต้องระบุวันที่บันทึก ผู้สํารวจ และ รายละเอียดได้

3) มีเครื่องมือพื้นฐานในการใช้งานแผนที่ได้อย่างสะดวก เช่น ย่อ/ขยาย แผนที่ (Zoom in/out) และเลื่อนแผนที่ (Par) เป็นต้น

4) สามารถเพิ่ม แก้ไข ลบ ตําแหน่งและรายละเอียดข้อมูลแปลงที่ดิน ได้แก่ ข้อมูล รูปแปลงที่ดิน ขนาดแปลงที่ดิน และพิกัดบนแผนที่ เพื่อจัดเก็บเป็นข้อมูลทะเบียนที่ดิน

5) สามารถเพิ่ม แก้ไข ลบ ตําแหน่งและรายละเอียดข้อมูลป้าย ได้แก่ ขนาด ประเภทป้าย ข้อความบนป้าย และพิกัดบนแผนที่ เพื่อจัดเก็บเป็นข้อมูลทะเบียนป้าย

6) สามารถเพิ่ม แก้ไข ลบ ตําแหน่งและรายละเอียดข้อมูลสิ่งปลูกสร้าง อาคารชุด ได้แก่ พื้นที่ ประเภทสิ่งปลูกสร้าง การใช้ประโยชน์ และพิกัดบนแผนที่ เพื่อจัดเก็บเป็นข้อมูลทะเบียนสิ่งปลูกสร้าง

7) ค้นหาข้อมูลที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง ป้าย ตามเงื่อนไขที่กําหนดอย่างน้อย ดังนี้

- ข้อมูลชื่อ-สกุล รหัสประจําตัวประชาชน เลขประจําตัวผู้เสียภาษี เลขจดทะเบียน นิติบุคคล เจ้าของกรรมสิทธิ์

- บ้านเลขที่ และรหัสประจําบ้าน

- ข้อมูลเลขที่โฉนด เลขที่ดิน เลขสํารวจ โดยค้นหาได้ทั้งระวาง แขวง และเขต

- ข้อมูลป้ายจากชื่อ-สกุลเจ้าของป้าย และรหัสป้าย

- ข้อมูลที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง และป้าย ที่ยังไม่ได้ชําระภาษี

8) คลิกเลือกที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง และป้าย สามารถแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง ป้ายนั้นได้

9) แสดงที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่สํารวจแล้ว

10) แสดงที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ยังไม่ได้สํารวจ (เป้าหมายในการสํารวจ)

11) แสดงที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ได้รับการยกเว้นภาษี

12) รายงานสรุปการสํารวจ เป็นรายเขต

13) ระบบสามารถพิมพ์รายงานสรุปรายละเอียดจากการสํารวจ โดยสามารถคัดเลือก เฉพาะข้อมูลที่ต้องการรายงานตามเงื่อนไขที่กําหนดได้ (Query)

 

2) Mobile Application มีคุณลักษณะ ดังนี้

1) ระบบสามารถรองรับการออกสํารวจภาคสนาม และต้องรองรับการใช้อุปกรณ์ที่ กรุงเทพมหานครอาจจัดหามาประกอบการใช้งานในอนาคต โดยต้องสามารถแสดงข้อมูลแผนที่ใช้ในการสํารวจ แบบ Online รองรับระบบปฏิบัติการ iOS ๑๔ หรือสูงกว่า หรือ Android ๖.๐ หรือสูงกว่า

2) สามารถเรียกแสดงแผนที่พื้นฐาน (Base Map)

3) ระบบต้องบันทึกรายละเอียดการสํารวจ โดยต้องระบุวันที่บันทึก ผู้สํารวจ และรายละเอียดได้

4) รองรับการสั่งการในระบบและบนแผนที่ด้วยเทคโนโลยี Multi-touch ได้

5) มีเครื่องมือพื้นฐานในการใช้งานแผนที่ได้อย่างสะดวก เช่น ย่อ/ขยาย แผนที่ (Zoom in/out) และเลื่อนแผนที่ (Pan) เป็นต้น

6) สามารถเลือนไปยังตําแหน่งปัจจุบัน (Get Current Location)

7) สามารถเพิ่ม แก้ไข ลบ ตําแหน่งและรายละเอียดข้อมูลแปลงที่ดิน ได้แก่ ข้อมูล รูปแปลงที่ดิน ขนาดแปลงที่ดิน และพิกัดบนแผนที่ เพื่อจัดเก็บเป็นข้อมูลทะเบียนที่ดิน

8) สามารถเพิ่ม แก้ไข ลบ ตําแหน่งและรายละเอียดข้อมูลป้าย ได้แก่ ขนาด ประเภทป้าย ข้อความบนป้าย และพิกัดบนแผนที่ เพื่อจัดเก็บเป็นข้อมูลทะเบียนป้าย

9) สามารถเพิ่ม แก้ไข ลบ ตําแหน่งและรายละเอียดข้อมูลสิ่งปลูกสร้าง อาคารชุด ได้แก่ พื้นที่ ประเภทสิ่งปลูกสร้าง การใช้ประโยชน์ และพิกัดบนแผนที่ เพื่อจัดเก็บเป็นข้อมูลทะเบียนสิ่งปลูกสร้าง

10) สามารถใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ระบุตําแหน่งเพื่อนําเข้าภาพถ่ายได้ทั้งแบบถ่ายภาพ และเลือกภาพจากคลังภาพได้

11) ค้นหาข้อมูลที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง ป้าย ตามเงื่อนไขที่กําหนด ดังนี้

- ข้อมูลชื่อ-สกุล รหัสประจําตัวประชาชน เลขประจําตัวผู้เสียภาษี เลขจดทะเบียน นิติบุคคล เจ้าของกรรมสิทธิ์

- บ้านเลขที่ และรหัสประจําบ้าน

- ข้อมูลเลขที่โฉนด เลขที่ดิน เลขสํารวจ โดยค้นหาได้ทั้งระวาง แขวง และเขต

- ข้อมูลป้ายจากชื่อ-สกุลเจ้าของป้าย และรหัสป้าย

- ข้อมูลที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง และป้าย ที่ยังไม่ได้ชําระภาษี

12) คลิกเลือกที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง และป้าย สามารถแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง ป้ายนั้นได้

13) แสดงที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่สํารวจแล้ว

14) แสดงที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ยังไม่ได้สํารวจ (เป้าหมายในการสํารวจ)

15) แสดงที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ได้รับการยกเว้นภาษี

4) ระบบให้บริการตรวจสอบข้อมูล ระบบต้องสามารถทํางานได้ทั้งบน Web Application และ Mobile Application

 

1) Web Application มีคุณลักษณะ ดังนี้

1) ผู้ใช้งานระบบต้องทําการลงทะเบียน (Register) และยืนยันตัวตนก่อนเข้าใช้งาน ระบบด้วยรหัสประจําตัวประชาชน ชื่อ-สกุล หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล์

2) ประชาชนสามารถตรวจสอบและยื่นคําร้องขอแก้ไขและคําคัดค้านการประเมินภาษี ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในส่วนของข้อมูลส่วนบุคคล เช่น รายละเอียดที่ดิน ราคาประเมินทุนทรัพย์ รายละเอียด สิ่งปลูกสร้างอาคารชุด การใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง-อาคารชุด ที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน รหัสประจําตัว ประชาชน/เลขทะเบียนการค้า/เลขหนังสือเดินทาง และที่อยู่ที่จัดส่งไปรษณีย์ หมายเลขโทรศัพท์และอีเมล์ ในการติดต่อ โดยในคําร้องสามารถขอแก้ไขข้อมูลได้มากกว่า 1 แปลงที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง/อาคารชุด

3) มีเครื่องมือพื้นฐานในการใช้งานแผนที่ได้อย่างสะดวก เช่น ย่อ/ขยาย แผนที่ (Zoom in/out) และเลื่อนแผนที่ (Pan) เป็นต้น

4) ประชาชนสามารถตรวจสอบภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ภาษีป้าย ภาษีโรงเรือนและ ที่ดิน และภาษีบํารุงท้องที่ (เฉพาะที่ตนเองเป็นเจ้าของ) ได้อย่างน้อย ดังนี้

- ค้นหาที่ดินจากเลขที่โฉนด เลขที่ดิน ระวาง แขวง และเขต โดยผลการค้นหาจะ Zoom ไปยังตําแหน่งบนภาพแผนที่ และแสดงรายละเอียดที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

- ค้นหาสิ่งปลูกสร้างจากบ้านเลขที่ รหัสประจําบ้าน โดยผลการค้นหาจะ Zoom ไปยังตําแหน่งบนภาพแผนที่ และแสดงรายละเอียดที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

- ค้นหาป้ายจากรหัสป้าย ชื่อป้าย โดยผลการค้นหาจะ Zoom ไปยังตําแหน่ง บนภาพแผนที่ และแสดงรายละเอียดป้าย

5) สามารถบันทึกหรือนําออก (Export) ใบแจ้งการประเมินภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ภาษีป้าย ภาษีโรงเรือนและที่ดิน และภาษีบํารุงท้องที่ (เฉพาะที่ตนเองเป็นเจ้าของ) ในรูปแบบไฟล์ PDF เพื่อนําไปชําระค่าภาษีได้ โดยต้องผ่านการยืนยันความถูกต้องจากเจ้าหน้าที่ก่อน

6) สามารถตรวจสอบประวัติการชําระภาษีของตนเองได้

7) สามารถแจ้งเตือนวันใกล้ครบกําหนดชําระภาษี

8) มีเครื่องมือจัดการหน้าประชาสัมพันธ์ เพื่อแจ้งข่าวสารให้กับประชาชน

9) มีเครื่องมือจัดการ FAQ คําถาม-ตอบ ที่พบบ่อย) เกี่ยวกับภาษีท้องถิ่น

 

2) Mobile Application มีคุณลักษณะอย่างน้อย ดังนี้

1) ผู้ใช้งานระบบต้องทําการลงทะเบียน (Register) และยืนยันตัวตนก่อนเข้าใช้งาน ระบบ ด้วยรหัสประจําตัวประชาชน ชื่อ-สกุล หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล์

2) ประชาชนสามารถตรวจสอบและยื่นคําร้องขอแก้ไขและคําคัดค้านการประเมินภาษี ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในส่วนของข้อมูลส่วนบุคคล เช่น รายละเอียดที่ดิน ราคาประเมินทุนทรัพย์ รายละเอียด สิ่งปลูกสร้างอาคารชุด การใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอาคารชุด ที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน รหัสประจําตัว ประชาชน/เลขทะเบียนการค้า/เลขหนังสือเดินทาง และที่อยู่ที่จัดส่งไปรษณีย์ หมายเลขโทรศัพท์และอีเมล์ ในการติดต่อ โดยในคําร้องสามารถขอแก้ไขข้อมูลได้มากกว่า 1 แปลงที่ดิน/สิ่งปลูกสร้าง/อาคารชุด

3) รองรับการสั่งการในระบบและบนแผนที่ด้วยเทคโนโลยี multi-touch ได้

4) มีเครื่องมือพื้นฐานในการใช้งานแผนที่ได้อย่างสะดวก เช่น ย่อ/ขยาย แผนที่ (Zoom in/out) และเลื่อนแผนที่ (Pan) เป็นต้น

5) ประชาชนสามารถตรวจสอบภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ภาษีป้าย ภาษีโรงเรือนและ ที่ดิน และภาษีบํารุงท้องที่ (เฉพาะที่ตนเองเป็นเจ้าของ) ได้อย่างน้อย ดังนี้

- คลิกบนภาพแผนที่ หรือเลื่อนไปยังตําแหน่งปัจจุบัน (Get Current Location) ระบบจะแสดงรายละเอียดที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

- ค้นหาที่ดินจากเลขที่โฉนด เลขที่ดิน ระวาง แขวงและเขต โดยผลการค้นหาจะ Zoom ไปยังตําแหน่งบนภาพแผนที่ และแสดงรายละเอียดที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

- ค้นหาสิ่งปลูกสร้างจากบ้านเลขที่ รหัสประจําบ้าน โดยผลการค้นหาจะ Zoom ไปยังตําแหน่งบนภาพแผนที่ และแสดงรายละเอียดที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

- ค้นหาป้ายจากรหัสป้าย ชื่อป้าย โดยผลการค้นหาจะ Zoom ไปยังตําแหน่งบน ภาพแผนที่ และแสดงรายละเอียดป้าย

- ประชาชนสามารถเพิ่มภาพถ่ายแนบไฟล์ลงบนระบบแผนที่เป็นข้อมูลรายละเอียด ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

6) สามารถบันทึกหรือนําออก (Export) ใบแจ้งการประเมินภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ภาษีป้าย ภาษีโรงเรือนและที่ดิน และภาษีบํารุงท้องที่ (เฉพาะที่ตนเองเป็นเจ้าของ) ในรูปแบบไฟล์ PDF เพื่อนําไปชําระค่าภาษีได้ โดยต้องผ่านการยืนยันความถูกต้องจากเจ้าหน้าที่ก่อน

7) สามารถตรวจสอบประวัติการชําระภาษีของตนเองได้

8) สามารถแจ้งเตือนวันใกล้ครบกําหนดชําระภาษี

9) มีเครื่องมือจัดการหน้าประชาสัมพันธ์ เพื่อแจ้งข่าวสารให้กับประชาชน

10) มีเครื่องมือจัดการ FAQ คําถาม-ตอบ ที่พบบ่อย) เกี่ยวกับภาษีท้องถิ่น

5) ระบบภาษีป้าย มีคุณลักษณะ ดังนี้

1) สามารถนําเข้าข้อมูลที่ได้จากการสํารวจ

2) สามารถเพิ่ม แก้ไข ลบ รายละเอียดป้าย ประเภท ตําแหน่งค่าพิกัดของป้าย ภาพถ่าย หรือเอกสารอื่น ๆ เป็นอย่างน้อย

3) ระบบต้องมีเครื่องมือสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อบริหารจัดการพื้นที่ย่อย (Zone) ภายใน พื้นที่เขตได้

4) ค้นหาข้อมูลป้ายตามเงื่อนไข ดังนี้

- ข้อมูลป้ายจากชื่อ-สกุล เจ้าของป้าย

- ข้อมูลเลขบัตรประจําตัวประชาชน/เลขทะเบียนการค้า/เลขหนังสือเดินทาง เจ้าของป้าย

- ข้อมูลรหัสผู้เสียภาษี รหัสป้าย เลขหนังสือแจ้งการประเมินปีก่อน

- ข้อมูลแขวง เขต

5) รับยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีป้าย

6) บันทึกตอบรับ/ใบแจ้ง ภาษีป้าย

7) คํานวณภาษีตามที่กฎหมายกําหนด และมีหน้าจอสําหรับเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีหรือ วิธีการคํานวณภาษี

8) ออกใบแจ้งการประเมินภาษีป้าย

9) รับยื่นคําร้องอุทธรณ์ภาษี

10) ยื่นคําร้องขอคืนเงินค่าภาษี

11) สามารถดูประวัติการชําระภาษี

12) บริหารจัดการการยกเลิกป้าย

13) แผนที่สามารถแสดงรายละเอียด ดังนี้

- แสดงจุดติดตั้งป้ายบนแผนที่

- คลิกเลือกป้าย สามารถแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับป้ายนั้นได้

- ค้นหาและแสดงตําแหน่งป้ายใน/นอกพิกัดภาษี

- แผนที่สามารถย่อ/ขยาย (Zoom in/out) และเลื่อนแผนที่ (Pan)

- แสดงป้ายที่ชําระหรือยังไม่ชําระภาษี

- แสดงป้ายที่ได้รับการยกเว้นภาษี

14) สามารถแจ้งเตือนวันใกล้กําหนดครบชําระภาษี

15) แสดงรายละเอียดการจัดเก็บภาษีป้ายตามประเภทของป้าย ในแต่ละเดือนรายเขต

16) จัดทํารายงานดังต่อไปนี้

- รายงานสรุปการจัดเก็บภาษีป้าย เป็นรายเขต

- รายงานแสดงป้ายที่ชําระภาษีแล้ว และยังไม่ได้ชําระภาษี เป็นรายเขต

6) ระบบบริหารจัดการลูกหนี้ มีคุณลักษณะ ดังนี้

1) สามารถค้นหาข้อมูลลูกหนี้ในแต่ละประเภทภาษีได้ (ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ภาษีบํารุงท้องที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีป้าย)

2) ออกหนังสือแจ้งเตือนเมื่อพ้นกําหนดชําระภาษีตามกฎหมาย

3) ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และภาษีป้าย

- ค้นหาข้อมูลลูกหนี้

- คํานวณเบี้ยปรับ เงินเพิ่ม

- บริหารจัดการการผ่อนชําระภาษี (ตามกฎกระทรวง)

- บริหารจัดการการผ่อนชําระหนี้ค้าง

- บริหารจัดการการชําระบางส่วน

- บริหารจัดการการจําหน่ายลูกหนี้

4) ภาษีบํารุงท้องที่ โรงเรือนและที่ดิน เป็นการคํานวณนอกระบบที่จัดทําในโครงการ แล้วจึงบันทึกเข้าระบบ

- ค้นหาข้อมูลลูกหนี้

- คํานวณเบี้ยปรับ เงินเพิ่ม

- บันทึก แก้ไข ลบ และออกใบแจ้งการประเมิน

- ยื่นคําร้องขอคืนเงินค่าภาษี

- บริหารจัดการการผ่อนชําระภาษี (ตามกฎกระทรวง)

- บริหารจัดการการผ่อนชําระหนี้ค้าง

- บริหารจัดการการชําระบางส่วน

- บริหารจัดการการจําหน่ายลูกหนี้

5) บันทึกและปรับปรุงสถานะการเดินเอกสารของการบังคับภาษี (ยึด อายัด ฟ้องศาล ขายทอดตลาด)

6) แจ้งเตือนผู้ใช้ในระบบตามสถานะของลูกหนี้

7) แจ้งเตือนเมื่อถึงกําหนดให้ดําเนินการบังคับภาษีตามขั้นตอนที่กฎหมายกําหนด

8) จัดทํารายงาน ดังต่อไปนี้

- รายงานลูกหนี้คงค้างแยกตามประเภท เป็นรายเขต

- รายงานสรุปการบริหารจัดการลูกหนี้ในแต่ละประเภทภาษี เป็นรายเขต

- รายงานการจําหน่ายหนี้ เป็นรายเขต

7) ระบบบริหารใบเสร็จรับเงิน มีคุณลักษณะ ดังนี้

1) เชื่อมโยงข้อมูลกับระบบการเงิน

2) เชื่อมโยงข้อมูลกับระบบการรับชําระเงินกลาง

3) ประมวลผลการชําระภาษี

Smart_City_article_by_Dr._Steve.jpg

ระบบนี้จะช่วยสนับสนุนเทคโนโลยีและนวัตกรรม Smart City ต่างๆให้ออกแบบได้อย่างมีประสิทธิภาพและลดค่าใช้จ่ายและการใช้ทรัพยากรของเมืองและประชากรเป้าหมาย

bottom of page